เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ
จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เพื่อบริโภคเนื้อเป็นหลัก เนื้อสามารถกระทำได้หลายแบบหลายวิธี แล้วแต่ความเหมาะสมกับท้องถิ่นและทุนที่มีอยู่ เช่น 1.การเลี้ยงแบบปล่อยลาน วิธีนี้เหมาะสำหรับชนบทที่กว้างขวาง เช่น เลี้ยงตามหัวไร่ปลายนา มีไก่จำนวนน้อย ปล่อยให้หาอาหารตามธรรมชาติ ผู้เลี้ยงอาจจัดอาหารเพิ่มเติมถ้าหากอาหารไม่พอเพียง โดยจัดวางในภาชนะหรือจะโปรยให้กินวันละประมาณ 1-2 ครั้ง ไก่จะเกาะคอนนอนตามต้นไม่หรือในเล้า การเลี้ยงแบบนี้จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำเพราะไม่ต้องลงทุนค่าอาหารมากนัก ผลผลิตที่ได้ก็ใช้เป็นอาหารในครอบครัว หากเหลือก็อาจขายเปลี่ยนเป็นเงินได้ 2.การเลี้ยงแบบจำกัดเขตหรือครึ่งเข้าครึ่งปล่อย เป็นวิธีที่ลงทุนน้อยใช้เลี้ยงไก่ได้ทั้งปริมาณน้อยและมาก โดยการทำรั้วเป็นลานต่อออกจากเล้าไก่ การเลี้ยงแบบนี้มักกักไก่ไว้ในเล้าและปล่อยให้ออกลานในบางโอกาส เจ้าของไก่จะจัดเตรียมอาหารและน้ำให้กินตลอดเวลา เนื่องจากไก่ไม่มีโอกาสออกไปหาอาหารตามธรรมชาติได้ 3.การเลี้ยงแบบเล้าหรือกรง วิธีเลี้ยงแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีที่ดินจำกัด จึงปลูกสร้างเล้าหรือกรงให้ไก่อยู่ภายในโดยเฉพาะเพียงแห่งเดียว ขนาดกรงกว้างยาวเท่ากับ 3 * 2 เมตร ใส่ไก่ประมาณ 15-25 ตัว ขนาดพื้นที่และจำนวนไก่อาจผิดไปจากนี้บ้าง วัสดุก่อสร้างอาจใช้ไม่ไผ่เพราะหาได้ทั่วไป ราคาถูก วัสดุมุงหลังคาอาจเป็นจากหรือแฝก แต่ถ้าเลี้ยงมากๆ ก็อาจใช้สังกะสีหรือกระเบื้อง แทนเพื่อไม่ต้องซ่อมแซมบ่อยๆ ก็ได้
Data Dictionary
หลัก | ประเภท | ป้ายกำกับ | รายละเอียด |
---|---|---|---|
ลำดับ | numeric | ||
อำเภอ | text | ||
2562 | numeric | ||
2563 | numeric | ||
2564 | numeric |
ข้อมูลเพิ่มเติม
ฟิลด์ | ค่า |
---|---|
นามสกุลของไฟล์ | CSV |
สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล | License not specified |
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล | ไม่มี |
ปีข้อมูลที่เริ่มต้นจัดทำ | 2562 |
ปีข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่ | 2564 |
การจัดจำแนก | ไม่มี |
หน่วยวัด | คน |
หน่วยตัวคูณ | หน่วย |
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด | 18 พฤษภาคม 2565 |
วันที่กำหนดเผยแพร่ข้อมูล | 30 กันยายน 2564 |
สถิติทางการ | |
สร้างในระบบเมื่อ | 18 พฤษภาคม 2565 |
ปรับปรุงครั้งล่าสุดในระบบเมื่อ | 18 พฤษภาคม 2565 |