กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการให้วัคซีนโควิด 19 ในประชาชนไทย โดยเริ่มให้วัคซีนโควิด 19
ในเด็กอายุ 5-11 ปีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จากผลการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันในเด็กที่ได้รับวัคซีนพบว่า
ไม่ว่าจะฉีดด้วยสูตรไขว้วัคซีน Sinovac กับวัคซีน Pfizer หรือวัคซีน Pfizer 2 เข็ม สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
ได้สูง แต่ระดับภูมิคุ้มกันลดต่ำลงภายหลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งอาจไม่เพียงพอ
ต่อการป้องกันโรคโดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน และเมื่อฉีดกระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 จะทำให้ระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้น
มาก และป้องกันสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ได้ดีขึ้น โดยจากการศึกษาเปรียบเทียบในผู้ใหญ่พบว่า วัคซีนชนิด Pfizer
กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงกว่าวัคซีนเชื้อตาย ซึ่งมีอัตราการเกิดอาการข้างเคียงมากกว่าวัคซีนเชื้อตาย แต่ไม่รุนแรง
อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทุกชนิดสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ดี
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครั้งที่ 5/2565 วันที่ 2 สิงหาคม 2565 และ
ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ครั้งที่ 476 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 มีมติให้คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น ในเด็กอายุ 5-11 ปี
เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในกลุ่มเป้าหมายในสูงเพียงพอต่อการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง และการระบาดของโรค
โควิด 19 ในเด็กอายุ 5-11ปี จึงแนะนำแนวทางการพิจารณาการให้วัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นในเด็กอายุ
5-11 ปี ดังนี