วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (มันสำปะหลัง ข้าว อ้อย) ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ฉบับที่ 6 ระบุว่าไทยจะต้องเปลี่ยนแผนจากประเทศเกษตรกรรมเป็นประเทศอุตสาหกรรม จึงจะสามารถอยู่รอดและมีการพัฒนาประเทศได้แต่เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและดินฟ้าอากาศของประเทศไทยเหมาะในการเพาะปลูก จึงมีผลผลิตทางการเกษตรและ ของเหลือทิ้งทางการเกษตรมากมาย การพัฒนาอุตสาหกรรมจึงได้มุ่งเน้นหนักทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมอาหารเพื่อแปรรูปวัสดุเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและส่งออก เป็นการเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แทนที่จะเป็นผลผลิตเกษตรอย่างเดียว ทำให้เกิดอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ เช่น การผลิตแอลกอฮอล์จากมันสำปะหลัง ผลิตอาหารทะเลสำเร็จรูปจากสัตว์น้ำชนิดต่างๆ เครื่องเฟอร์นิเจอร์จากต้นยางพาราผลิตภัณฑ์ผลไม้ตากแห้ง แช่อิ่ม กวน น้ำผลไม้ สมุนไพรแปรรูป ตลอดจนได้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการบรรจุหีบห่อขึ้น ซึ่งจากการพัฒนาด้านนี้ ทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลายชนิด และรวมทั้งมีวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเหล่านั้นด้วย ซึ่งวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ นี้ อาจจะแบ่ง ประเภทออกได้เป็น 1. ของเหลือทิ้งที่เป็นวัสดุเกษตร (Agricultural Waste) เช่น ซังข้าวโพด ยอดอ้อย ฟางข้าว ต้นข้าวฟาง ใบสำปะหลัง ใบและต้นสัปปะรด เปลือกผลไม้ ฯลฯ 2. ของเหลือจากอุตสาหกรรม (Industrial waste) ส่วนใหญ่โรงงานในประเทศไทยเป็นโรงงานที่ใช้วัตถุดิบจากภาคการเกษตรในการผลิตเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าสูงขึ้น เช่น โรงงานผลิตสุราและแอลกอฮอล์ โรงงานผลิตอาหารและผลไม้กระป๋อง เป็นต้น ดังนั้นจึงมีของเสียที่ปล่อยทิ้งซึ่งอยู่ในรูปของแข็งและของเหลวจากวัตถุดิบเกษตร ของเสียเหล่านี้ยังมีปริมาณสารอินทรีย์อยู่มากและได้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเวลาช้านานแล้วของเสียจากอุตสาหกรรมเกษตรและวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ประกอบด้วยสารอินทรีย์ต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังมีคุณค่าทางเศรษฐกิจอยู่ ดังนั้น หากได้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการแยกสารอินทรีย์เหล่านี้ให้เป็นสารอินทรีย์ที่มีคุณค่าสูงขึ้น เช่น การแยกลิกนิน (Lignin) จาก Sulphite waste liquor and Black liquor จากน้ำทิ้งโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ การแยกสารสเตอรอยด์ จากการผลิตเส้นใยป่านศรนารายณ์ ซึ่งใช้เป็นสารตั้งต้นของการผลิตสเตอรอยด์ฮอร์โมน การสกัดแทนนิน (Tannin) จากเปลือกเงาะ การผลิตปุ๋ยหมัก และการผลิตแก๊สชีวภาพ เป็นต้น ดังนั้น จึงเห็นว่าการนำวัสดุเหลือใช้ หรือของเสียจากอุตสาหกรรมเกษตรมาใช้ประโยชน์ จำเป็นต้องพิจารณาอย่างเป็นระบบ (System Approach)โดยศึกษาตั้งแต่วัสดุเหลือใช้การเกษตรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในภาคเกษตรกรรม น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม6โดยเฉพาะในด้านปริมาณและ คุณลักษณะ ตลอดจนแหล่งของวัตถุดิบจนถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสม

Data a zdroje

Doplňující informace

Pole Hodnota
Reference URL Catalog
* ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลสถิติ
ยินยอมให้นำชื่อชุดข้อมูลไปใช้ที่ GD-Catalog ยินยอม
* ชื่อฝ่ายงานสำหรับติดต่อ กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ
* อีเมลสำหรับติดต่อ nakhonsawan@doae.go.th
* วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ชาติ
* หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ปี
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด) 1
* ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ อำเภอ
* แหล่งที่มา สำรวจข้อมูลทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ(สำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์)
* รูปแบบการเก็บข้อมูล CSV
* หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
* Licence Nebyla specifikována licence
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล ไม่มี
URL
ภาษาที่ใช้ ไทย
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด September 1, 2021
วันที่กำหนดเผยแพร่ข้อมูล September 1, 2021
ปีข้อมูลที่เริ่มต้นจัดทำ (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ) 2564
ปีข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่ (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ) 2567
การจัดจำแนก (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ) ไม่มี
หน่วยวัด (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ) กิโลกรัม
หน่วยตัวคูณ (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ) หน่วย
วิธีการคำนวณ (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ) ไม่มี
มาตรฐานการจัดทำข้อมูล (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ) ไม่มี
สถิติทางการ
Create by Gravatar nakhonsawan-admin
Vytvořeno June 9, 2022
Naposledy aktualizováno December 17, 2024